การทำเว็บเพื่อการตลาดออนไลน์ - ความหมายและความสำคัญของการจดทะเบียนโดเมนเนม
การทำเว็บเพื่อการตลาดออนไลน์ - ความหมายและความสำคัญของการจดทะเบียนโดเมนเนม

     เพื่อให้ผู้ประกอบการรู้จักความหมายและความสำคัญของการจดทะเบียนโดเมนเนม (Domain name) รวมไปถึงเทคนิคในการตั้งชื่อโดเมนเนม  เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถนำไปใช้สำหรับการตั้งชื่อโดเมนเนมของเว็บไซต์พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของตนได้

     Domain name หรือชื่อของเว็บไซต์นั้น  มีความสำคัญเปรียบเสมือนชื่อของเจ้าของสินค้า หรือชื่อบริษัท เนื่องจากในโลกออนไลน์ ลูกค้าจะไม่จดจำชื่อเจ้าของสินค้าหรือชื่อบริษัท แต่จะใช้โดเมนเนมในการเรียก และเข้าสู่หน้าเว็บไซต์ ปัจจุบันการจดโดเมนเนม มีทางเลือกทั้งแบบโดเมนเนมจริง และเป็น Subdomain ซึ่งแตกต่างกันคือ 

     โดเมนเนมจริง จะเป็น ชื่อตามด้วยนามสกุล เช่น abc.com โดยสามารถตั้งชื่อและจดทะเบียนกับผู้ให้บริการได้หากโดเมนเนมไม่ซ้ำกับที่มีผู้จดทะเบียนไปแล้ว การตั้งชื่อโดเมนเนมใช้อักษรภาษาอังกฤษ a-z โดยไม่คำนึงว่าเขียนด้วยตัวใหญ่หรือตัวเล็ก ใช้ตัวเลข 0-9 และ ใช้ - ได้เท่านั้น  ( การเข้าสู่เว็บไซต์ abc.com จะพิมพ์ว่า ABC.com หรือ AbC.com ก็ได้ จะเข้าสู่เว็บไซต์เดียวกัน

     ส่วน Subdomain คือ การจดชื่อโดเมนเนมย่อยภายในโดเมนเนมหลัก  แต่การแสดงผลจะมีค่าเทียบเท่ากับโดเมนเนมหลัก  เพราะเว็บไซต์ที่ใช้ Subdomain ก็คือเว็บไซต์ธรรมดาอีกเว็บไซต์หนึ่ง  ที่มีเนื้อหาหรือเหตุผลที่ต้องแยกการแสดงผลออกมาจากเว็บไซต์หลัก  แต่ทั้งโดเมนเนมจริงและ Subdomain ยังคงมีความเกี่ยวข้องกัน เช่น abc.com มีการแสดงผลเนื้อหาบนหน้าเว็บไซต์เป็นภาษาไทย  และต้องการทำเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาเหมือนเดิมแต่เป็นภาษาอังกฤษ จึงใช้ Subdomain เป็น eng.abc.com หรือ english.abc.com ได้ตามต้องการ  หากต้องทำเว็บไซต์เวอร์ชั่นภาษาญี่ปุ่นเพิ่มอีก ก็สามารถตั้งชื่อ Subdomain เป็น jp.abc.com ได้ เป็นต้น 

     ตัวอย่างเว็บไซต์ที่มีการจด Subdomain เช่น เว็บไซต์ให้ความรู้และแนะนำวิธีการดูแลหน้าอกผู้หญิง www.girlysociety.com มีหน้าเว็บไซต์หลักที่แสดงผลภาษาไทย  และมีการสร้างเว็บไซต์ภาษาที่สองเพิ่ม ด้วยการจด Subdomain ชื่อ eng.girlysociey.com เพื่อแสดงผลเนื้อหาสินค้าและบริการเป็นภาษาอังกฤษโดยเฉพาะ

ตัวอย่างการแสดงผลโดเมนเนมจริง คือ www.girlysociety.com

 

ตัวอย่างการแสดงผล Subdomain : eng.girlysociey.com 


  แนวทางการตั้งชื่อโดเมนเนม มีดังนี้


 1. ชื่อแสดงความเป็นธุรกิจ และ keyword (คีย์เวิร์ดคือ สิ่งที่ลูกค้าต้องการ เช่น ชื่อสินค้าบริการ)

     ตัวอย่างเช่น www.tourkrabi.com แสดงความเป็นธุรกิจทัวร์โดยเน้นไปที่จังหวัดกระบี่อย่างชัดเจน หรือ www.weddingthai.net แสดงให้เห็นธุรกิจเกี่ยวกับงานแต่งงาน แม้ว่าจะยังบอกไม่ได้ว่าเป็นการให้บริการด้านงานแต่งงาน หรืออาจจะเป็นให้บริการถ่ายรูปแต่งงาน หรือแม้แต่บริการหาคู่ แต่ก็อยู่ในธุรกิจนี้

     การมีชื่อที่แสดงความเป็นธุรกิจช่วยให้ลูกค้าเว็บไซต์จดจำได้ง่าย และมีโอกาส click เลือกจากหน้า Search Engine ได้มากกว่าชื่อโดเมนเนมที่ไม่มีความเป็นธุรกิจ อย่างไรก็ตามการใช้ชื่อโดเมนเนมลักษณะนี้มีข้อเสียคือ ไม่มีความแตกต่างที่เป็นเอกลักษณ์ ดังนั้นจึงสามารถถูกลอกเลียนแบบได้ง่าย เช่น  อาจจะมีคุ่แข่งจดโดเมนเนม  www.tourthaikrabi.com หรือ www.krabitour.com หรือ www.travelkrabi.com และอื่น ๆ อีกมากมาย ดังนั้น เจ้าของเว็บไซต์กลุ่มหนึ่งจึงหลีกเลี่ยงที่จะใช้ชื่อแสดงความเป็นธุรกิจแต่เพียงอย่างเดียวในการจดโดเมนเนม
 

 2. สร้าง Brand แสดงความแตกต่างเป็นเอกลักษณ์

     เจ้าของเว็บไซต์ที่หลีกเลี่ยงการจดชื่อโดเมนเนมที่แสดงความเป็นธุรกิจเพียงอย่างเดียว จะเลือกใช้ชื่อที่สร้าง Brand และแสดงความเป็นเอกลักษณ์ เช่น www.krabicosmo.com  , www.ghousehuahin.com เป็นต้น  ในกรณีนี้ ถ้าลูกค้าเว็บไซต์จดจำเอกลักษณ์ของชื่อโดเมนเนมได้ เช่น จำได้ว่า มีคำว่า cosmo อยู่ในชื่อคู่กับ krabi ก็มีโอกาสที่จะกลับมาที่เว็บไซต์นั้น ๆ มากขึ้น เป็นต้น
 

 3. จดจำง่าย ออกเสียงง่าย สะกดง่าย

     หากสามารถตั้งชื่อโดเมนเนมให้สั้นได้มากที่สุด จะทำให้ผู้เข้าชมเว็บไซต์จดจำได้ง่ายกว่า อย่างไรก็ตาม ชื่อโดเมนเนมที่ประกอบด้วยพยัญชนะภาษาอังกฤษ 2 หรือ 3 หรือ 4 ตัว และนามสกุล dot com ได้ถูกจดไปหมดแล้ว เช่น aa.com , ab.com , abc.com , mno.com , abcd.com , wxyz.com, mink.com เป็นต้น จึงไม่จำเป็นต้องหาชื่อโดเมนเนมดังกล่าว ยกเว้นใช้นามสกุลอื่น

     ดังนั้น เจ้าของเว็บไซต์ควรพิจารณาโดเมนเนมที่มีชือ 5 ตัวขึ้นไป การสะกดชื่อควรเป็นมาตรฐานทั่วไป เช่น www.thaibusiness.com ถ้าชื่อโดนจดไปแล้วและเจ้าของเว็บไซต์ต้องการใช้ thaibuziness.com ก็ต้องพิจารณาว่าธุรกิจของตนตรงกับธุรกิจของ thaibusiness.com หรือไม่ หากตรงกัน มีโอกาสที่จะทำให้ลูกค้าเข้าสู่เว็บของผู้อื่นได้อย่างน่าเสียดาย อนึ่ง  ลูกค้าเว็บไซต์โดยทั่วไปอาจจะตั้งข้อสังเกตถึงความไม่น่าเชื่อถือของโดเมนเนมที่เขียนผิดจากปกติ

     สำหรับการตั้งชื่อโดเมนเนมออกเสียงทับศัพท์เป็นภาษาไทย ต้องระวังการเขียนให้ง่ายที่สุด เช่น www.sanook.com  หรือ www.kapook.com  หากไม่มั่นใจว่าลูกค้าจะสะกดถูกต้องจดโดเมนเนมไว้หลายแบบและนำเข้าสู่เว็บไซต์เดียวกัน เช่น www.baanbetalet.com , www.banbetalet.com  (บ้านเบ็ดเตล็ด) เป็นต้น แม้แต่ตั้งชื่อเป็นภาษาอังกฤษแต่ออกเสียงคล้ายกัน ก็ควรระวังการสะกด และจดโดเมนเนมไว้หลายแบบเช่นกัน เช่น www.ReadyPlanet.com และ www.LadyPlanet.com ก็จะเข้าสู่เว็บไซต์เดียวกันคือผู้ให้บริการเว็บไซต์สำเร็จรูป
 

 4. ไม่ copy เลียนแบบเว็บไซต์ที่มีชื่อเสียง

      เช่น ไม่ตั้งชื่อโดเมนเนมว่า www.AmazonThaiBook.com เพราะมีโอกาสโดนฟ้องร้องสูงมากเนื่องจากทำธุรกิจเดียวกับเว็บไซต์หลักคือ Amazon.com นอกจากนั้น ภาพลักษณ์ของโดเมนเนมที่เลียนแบบยังขาดความน่าเชื่อถืออีกด้วย
 

 5. ชื่อโดเมนเนมไม่ยาวเกินไป หากชื่อยาวต้องจดจำง่าย

     เช่น www.OpenWorldThailand.com, www.BeachHotelExpress.com , www.FlowerHandmade.com จะเห็นได้ว่า ชื่อเว็บไซต์แม้จะยาวแต่ประกอบด้วยคำภาษาอังกฤษที่จำง่ายเช่น Thailand , Handmade ซึ่งประกอบกันแล้วทำให้ชื่อยาว แต่เข้าใจง่าย อย่างไรก็ตามการประกอบกันยาวเกินไปก็ยังไม่นับว่าเป็นชื่อที่ดีนัก เช่น www.TheBestFlowerHandmadeInThailand.com ก็นับว่ายาวเกินไป
 

 6. ระวังเรื่อง " - " (Hyphen) และการเติม S

     หากต้องการจดชื่อที่มี S หรือใช้สัญญลักษณ์ " - " ดังกล่าว ต้องพิจารณาว่า เว็บไซต์อื่นที่จดทะเบียนไปแล้วและไม่มีสัญญลักษณ์ทำธุรกิจเดียวกันกับเราหรือไม่ ถ้าใช่ มีโอกาสที่จะสร้างความสับสนแก่ผู้เข้าชมเว็บไซต์ได้ ทางออกที่ดีคือ จดโดเมนเนมทั้งที่มีและไม่มี s ไว้ด้วย เช่น www.ReadyPlanet.com และ www.ReadyPlanets.com ก็จะเข้าสู่เว็บไซต์เดียวกันคือผู้ให้บริการเว็บไซต์สำเร็จรูป ส่วนชื่อที่มี " - " หากไม่จำเป็นไม่ควรใช้ และต้องพิจารณาว่าเว็บไซต์ที่ใช้ชื่อแบบไม่มี " - " ทำธุรกิจเดียวกับเราในประเทศของเราหรือไม่ ถ้าใช่ ยิ่งไม่ควรใช้ชือทีมี " - " อย่างยิ่ง
 

 7. ชื่อแสดงความน่าเชื่อถือ

     ลูกค้าเว็บไซต์โดยเฉพาะด้านธุรกิจ  ย่อมต้องการความน่าเชื่อถือก่อนจะตัดสินใจทำธุรกรรมต่าง ๆ ด้วย ดังนั้น ไม่ตั้งชื่อที่แสดงความเป็นเล่น ๆ  ยกเว้นเป็นเว็บไซต์ content หรือ social ที่ต้องการภาพลักษณ์ที่สบาย ๆ เช่น ระวังถ้าต้องการตั้งชื่อว่า ConsultantKukKik.com (กุ๊กกิ๊ก) จะขัดกับภาพลักษณ์ที่ต้องการความจริงจังในการทำธุรกิจ
 

 8. ตั้งชื่อที่ไม่มีความหมายก็ได้

     หากชื่อนั้นจดจำง่าย และเจ้าของเว็บไซต์มีการทำตลาดอย่างต่อเนื่องได้ ตัวอย่างเว็บไซต์ต่างประเทศที่ชื่อไม่มีความหมายแต่ประสบความสำเร็จมีมากมาย เช่น www.google.com , www.ebay.com , www.yahoo.com เป็นต้น

17 June 2011
www.ReadyPlanet.com 




เทคนิคการทำเว็บไซต์ (Howto)

เทคนิคการสร้างเส้นตรงคั่นระหว่างเนื้อหาหรือบทความด้วยเครื่องมือ Insert Horizontal Line
วิธีนำ Embed Post จาก Facebook, Twitter และ Google+ มาแสดงผลบนหน้าเว็บไซต์
เว็บไซต์สำเร็จรูป - ไขข้อข้องใจ "การทำเว็บไซต์ภาษาที่สอง"
เว็บไซต์สำเร็จรูป - ติดตั้งเครืองมือแปลภาษา Google Translate บนหน้าเว็บไซต์
เว็บไซต์สำเร็จรูป - เจาะลึกเรื่องเมนูที่ควร Do และ Don't
เว็บไซต์สำเร็จรูป - เทคนิคง่าย ๆ ในการค้นหาข้อมูลบนเว็บไซต์ ตอนที่ 2
เว็บไซต์สำเร็จรูป - เทคนิคง่าย ๆ ในการค้นหาข้อมูลบนเว็บไซต์ ตอนที่ 1
เว็บไซต์สำเร็จรูป - เทคนิคการใส่ตารางในรายละเอียดสินค้าบนระบบร้านค้าออนไลน์
เว็บไซต์สำเร็จรูป - เทคนิคการปิดปรับปรุงเว็บไซต์ โดยใช้ Intro Page
เว็บไซต์สำเร็จรูป - ติดต่อง่าย เก็บได้ข้อมูลดังใจกับ "แบบฟอร์มอิสระติดต่อกลับ"
เว็บไซต์สำเร็จรูป - ไม่พลาดการติดต่อด้วย "แบบฟอร์มมาตรฐาน"
เว็บไซต์สำเร็จรูป - ใส่กรอบและตกแต่งรูปภาพอย่างง่ายด้วยโปรแกรม PhotoScape
การทำเว็บเพื่อการตลาดออนไลน์ - ฟันธงแนวโน้มการตลาดออนไลน์
เว็บไซต์สำเร็จรูป - จัดระเบียบข้อมูลบนหน้าเว็บไซต์ด้วยเครื่องมือตาราง
แนะนำการทำเว็บสำเร็จรูป - วิธีอัพโหลดไฟล์เอกสารและสร้างลิงค์สำหรับดาวน์โหลด
แนะนำการทำเว็บสำเร็จรูป - ย่อรูปภาพอย่างง่ายด้วยเครื่องมือ "กำหนดขนาดรูปภาพ"
การทำเว็บเพื่อการตลาดออนไลน์ - Website Check Up ตรวจสุขภาพเว็บไซต์
แนะนำการทำเว็บสำเร็จรูป - สร้างลิงค์รูปภาพเล็กไปรูปภาพใหญ่ ด้วยเครื่องมือ Text Editor
แนะนำการทำเว็บสำเร็จรูป - เทคนิคใส่ตัวอักษรเคลื่อนไหวในพื้นที่ด้านล่างของเว็บไซต์
แนะนำการทำเว็บสำเร็จรูป - เทคนิคซ่อนเส้นขอบรูปภาพที่เกิดจากการสร้างลิงค์
แนะนำการทำเว็บสำเร็จรูป - วิธีสร้างภาพโลโก้ตัวอักษรอย่างง่าย
แนะนำการทำเว็บสำเร็จรูป - วิธีแสดง Profile widget จาก Twitter ในเว็บไซต์
แนะนำการทำเว็บสำเร็จรูป - วิธีติดตั้งโค้ดนับจำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์
การทำเว็บเพื่อการตลาดออนไลน์ - ทำอย่างไรให้เว็บไซต์เป็นที่นิยม
แนะนำการทำเว็บสำเร็จรูป - ข้อควรระวังในการทำเว็บไซต์และวิธีใส่ข้อมูลในเว็บไซต์ที่ถูกต้องปลอดภัย
แนะนำการทำเว็บสำเร็จรูป - วิธีใส่เสียงเพลงในหน้าเว็บไซต์
แนะนำการทำเว็บสำเร็จรูป - ตกแต่งเว็บไซต์ด้วยโค้ดนาฬิกาและปฏิทิน
แนะนำการทำเว็บสำเร็จรูป - สร้างลิงค์ตรวจสอบสถานะ EMS และไปรษณีย์แบบลงทะเบียนในเว็บไซต์
แนะนำการทำเว็บสำเร็จรูป - สร้างรูปภาพเคลื่อนไหวแบบ Marquee
แนะนำการทำเว็บสำเร็จรูป - ประชาสัมพันธ์เว็บไซต์ด้วยแบนเนอร์แลกลิงค์
แนะนำการทำเว็บสำเร็จรูป - สร้างลูกเล่นให้เว็บไซต์ด้วย Chat Box
การทำเว็บเพื่อการตลาดออนไลน์ - สร้างธุรกิจให้ดังและโดนด้วย Social Network
แนะนำการทำเว็บสำเร็จรูป - ตกแต่งเว็บไซต์ด้วยแบนเนอร์เทศกาล
แนะนำการทำเว็บสำเร็จรูป - วิธีสร้าง QR Code และแสดงผลบนเว็บไซต์
การทำเว็บเพื่อการตลาดออนไลน์ - E-Mail Marketing ทำการตลาดออนไลน์ด้วยอีเมล
แนะนำการทำเว็บสำเร็จรูป - วิธีสร้างไฟล์ภาพ Favorite Icon เพื่อแสดงผลในช่อง Address Bar
แนะนำการทำเว็บสำเร็จรูป - เทคนิคการสร้างลิงค์ ในหน้าเดียวกันด้วยคำสั่ง Anchor
การทำเว็บเพื่อการตลาดออนไลน์ - Google Adwords สื่อโฆษณาที่ทรงพลัง
แนะนำการทำเว็บสำเร็จรูป - เทคนิคการสร้างลิงค์เมนูและรูปภาพแบนเนอร์ในพื้นที่ด้านล่างของเว็บไซต์
แนะนำการทำเว็บสำเร็จรูป - แนะนำวิธีหากลืมรหัสผ่านเข้าสู่หน้าแก้ไขเว็บไซต์
การทำเว็บเพื่อการตลาดออนไลน์ - การติดตั้ง Facebook Page Plugin (Like Box) ในเว็บไซต์
แนะนำการทำเว็บสำเร็จรูป - วิธีแสดงผลเครื่องเล่น VDO บนหน้าเว็บไซต์
การทำเว็บเพื่อการตลาดออนไลน์ - Keyword ช่วยสร้างตัวตนบนโลกออนไลน์
แนะนำการทำเว็บสำเร็จรูป - สาเหตุและวิธีการแก้ไขหน้าเว็บไซต์ที่จำข้อมูลเดิม
การทำเว็บเพื่อการตลาดออนไลน์ - การเปลี่ยน Visitor เป็น Customer
การทำเว็บเพื่อการตลาดออนไลน์ - วิธีเชื่อมต่อ Status จาก Twitter ไปยัง Facebook อัตโนมัติ
การทำเว็บเพื่อการตลาดออนไลน์ - รู้จักผู้เข้าชมเว็บไซต์ และวัดผลด้วย Google Analytics
แนะนำการทำเว็บสำเร็จรูป - เพิ่มลูกเล่นให้เว็บไซต์ด้วยหน้าต้อนรับ Intro Page
แนะนำการทำเว็บสำเร็จรูป - วิธีระบุที่ตั้งและแสดงแผนที่ Google Map บนหน้าเว็บไซต์
การทำเว็บเพื่อการตลาดออนไลน์ - วิธีใส่คีย์เวิร์ดในเว็บไซต์เพื่อให้ Google จัดเว็บไซต์ในอันดับที่ดี
การทำเว็บเพื่อการตลาดออนไลน์ - เทคนิคการให้รายละเอียดสินค้าเพื่อปิดการขาย
การทำเว็บเพื่อการตลาดออนไลน์ - การสร้างความน่าเชื่อถือให้กับเว็บไซต์
แนะนำการทำเว็บสำเร็จรูป - จะเลือกใช้สีในหน้าเว็บไซต์อย่างไรให้เหมาะสม?
แนะนำการทำเว็บสำเร็จรูป - จัดการข้อมูลเมนูย่อยด้านข้างอย่างไรดี?
แนะนำการทำเว็บสำเร็จรูป - เทคนิคการจัดการเมนูหลักที่สวยและดี
แนะนำการทำเว็บสำเร็จรูป - การเลือกรูปแบบเว็บไซต์และจัดโครงสร้างหน้าแรก
แนะนำการทำเว็บสำเร็จรูป - เริ่มต้นใส่ข้อมูลในระบบเว็บไซต์สำเร็จรูป
การทำเว็บเพื่อการตลาดออนไลน์ - เทคนิคการเขียนบทความบนเว็บไซต์ให้น่าสนใจ
แนะนำการทำเว็บสำเร็จรูป - เตรียมข้อมูลทำเว็บไซต์อย่างไรดี
แนะนำการทำเว็บสำเร็จรูป - 10 ข้อแนะนำ ก่อนเริ่มทำเว็บไซต์